Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

Alcohol and the heart แอลกอฮอล์ตัวร้าย ทำลายหัวใจ

14 เม.ย. 2567


Alcohol and the heart แอลกอฮอล์ตัวร้าย ทำลายหัวใจ
 เทศกาลสงกรานต์ใกล้เข้ามาแล้ว สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานานคือสุรา มีหลักฐานที่พูดถึงสุราในประเทศไทยคือจารึกภาษาเขมรที่ปราสาทพนมรุ่งกล่าวถึง การเช่นสรวงมีการใช้สุรา คนไทยรู้จักสุรากลั่นในสมัยพระนารายณ์มหาราช เรียกกันว่า “เหล้าโรง” สุราเกี่ยวข้องกับสังคมไทยในหลายๆ แง่มุม ทั้งพิธีกรรมเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทศกาล และทางสังคม
“แต่จริง ๆ แล้วสุราส่งผลอย่างไรต่อหัวใจบ้าง ครั้งนี้เราจะมาพูดถึง แอลกอฮอล์กับการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ”
 มีการบรรยายผลของการบริโภคแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานานว่าทำให้เกิดการเสียชีวิตกะทันหัน (sudden cardiac death) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ถึงขนาดมีคำพูดว่า “Holiday heart syndrome” เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970
  หลายคนคงเคยได้ยินว่าการนับการดื่มแอลกอฮอล์นับเป็น “drink” ซึ่งมีหลายคำจำกัดความ เช่น เมื่อเราพูดว่า 1 standard drink สามารถแบ่งได้หลายอย่าง เช่น
  • United state, 1 standard drink = 14 กรัมแอลกอฮอล์
  • United Kingdom, 1 standard drink = 8 กรัมแอลกอฮอล์
  • World Health Organization,  standard drink = 10 กรัมแอลกอฮอล์

Alcohol and atrial arrhythmias

   หัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากห้องบนมีหลายชนิด เราจะเริ่มที่ PAC หรือ premature atrial contraction ก่อน เนื่องจากพบบ่อยที่สุดและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น atrial fibrillation หรือหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว ซึ่งทำให้เกิดสมองขาดเลือด เกิดหัวใจวาย และยังเพิ่มอัตราการเสียชีวิตด้วย มีการศึกษาพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ประมาณมากกว่า 6 US drinks ต่อวันสามารถเพิ่มปริมาณ PAC นี้ได้

   และนอกจากนั้น แอลกอฮอล์ที่มากกว่า 6 drinks ต่อวันยังสามารถเพิ่มโอกาสการเกิดหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด SVT ได้อีกด้วย ถึงแม้จะไม่การวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้โดยตรงก็ตาม

   โรคต่อไปที่เกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก (ภาษาอังกฤษเรียก binge drinking) คือโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ atrial fibrillation (AF) ซึ่งสามารถเกิดตามหลังการดื่มแอลกอฮอล์ได้ในระยะเวลาอันสั้น คือภายใน 2-4 ชม หลั่งจากดื่มสุรา และมีโอกาสการเกิด AF มากกว่าคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ถึง 3 เท่าหากดื่มตั้งแต่ 2 drinks ขึ้นไป

  สามารถพูดได้ว่าแม้การดื่มแอลกอฮอล์เพียงแค่ 1 drink ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อ AF ดังนั้นหากดื่มเป็นกิจจะลักษณะ หรือเป็นระยะเวลานานจึงเพิ่มโอกาสการเกิด AF อย่างมีนัยสำคัญ

  แต่จากการศึกษาปัจจุบันการดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่า 4 U.S. standard drink ต่อสัปดาห์มีความเสี่ยงต่อการเกิด AF ต่ำที่สุด และเพิ่มขึ้น 5% ทุกๆ 56 กรัมแอลกอฮอล์ต่อสัปดาห์ (4 U.S. standard drink) ที่บริโภค

ชนิดของแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการเกิด AF ต่างกันหรือไม่

  เบียร์และ cider เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด AF เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณที่บริโภค

  แต่ไวน์แดง ไวน์ขาว และสุราจะเพิ่มความเสี่ยงหากบริโภคมากกว่าปริมาณที่น้อยหรือน้อยมากขึ้นไป

  สำหรับคนที่เลิกดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ทุกๆ 10 ปี ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์จะลดโอกาสการเกิด AF ลง 20% หรืออย่างน้อยการลดปริมาณการดื่มจากมากเป็นน้อยก็สามารถลดอัตราการเกิด AF ได้เช่นกัน

การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิด AF ได้อย่างไร

   การดื่มแอลกอฮอล์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวทำให้การนำไฟฟ้า และคุณสมบัติทางการนำไฟฟ้าของหัวใจเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะ AF ได้ง่ายขึ้น

   อีกทั้งแอลกอฮอล์ยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวของหัวใจห้องบนซ้าย ซึ่ง 25% ของผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์ และเป็น AF สามารถอธิบายได้จากขยายตัวของหัวใจห้องบนซ้ายนี่เอง

   นอกจากนี้แล้วแอลกอฮอล์ยังทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความแปรผันของอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างวันลดลง

   อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจเป็นผลจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน ๆ คือหัวใจวายจากพิษของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ให้เกิด AF เช่นกัน

   สุดท้ายแล้วการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้คุณภาพในการนอนหลับแย่ลง เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea) ซึ่งก็ส่งผลให้เกิด AF ตามมา

   ถึงแม้ ณ ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัยที่จะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด AF ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย เราควรดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยที่สุดอยู่ดี

แอลกอฮอล์กับการเสียชีวิตเฉียบพลัน

  ช่วงปี ค.ศ. 1990 อัตราการเสียชีวิตเฉียบพลันในประเทศรัสเซียสูงที่สุดช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ และวันจันทร์ จากอุบัติเหตุ การก่อความรุนแรง และที่สำคัญจากการบริโภคแอลกอฮอล์เกินขนาด ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าการเดิมแอลกอฮอล์ 1 drink ต่อวันสามารถความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ แต่จากเพิ่มความเสี่ยงหากบริโภคมากกว่า 3 - 4 drink ต่อวัน

  กลไกที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้คือแอลกอฮอล์ปริมาณมากกว่า 28 กรัมจะลดการนำไฟฟ้าของหัวใจห้องล่าง และเพิ่มความไวต่อการกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง และเกิดการเสียชีวิตเฉียบพลันได้

  การดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน คือ ปริมาณ 90 กรัมต่อวัน นานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ส่งให้เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ และยังทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้เช่นกัน

คำแนะนำเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์

   ณ ปัจจุบัน U.S guidelines ยังแนะนำว่าเพศชายสามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้ไม่เกิน 2 drinks ต่อวัน และเพศหญิงไม่เกิน 1 drink ต่อวัน
  โดยสรุปการบริโภคแอลกอฮอล์ปริมาณมากเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด AF และการเสียชีวิตเฉียบพลัน ในขณะที่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด PAC หรือ PVC และหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง (ventricular tachycardia/fibrillation) แม้กระตุ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่แล้ว ควรระมัดระวังต่อการบริโภคแอลกอฮอล์อย่างมาก


สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.ธารา เรืองวีรยุทธ แพทย์เฉพาะทางด้านสรีระไฟฟ้าหัวใจ
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์หัวใจ

 

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.